การปะยางหากแบ่งแยกตามมาตรฐานแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบครับ ได้แก่ การปะแบบสตีม และการปะแบบสอดใส้
1. สตีม คือ การปะยางแบบดั้งเดิม ที่ใช้กับรถทุกชนิด ตั้งแต่ รถจักรยาน ถึง รถบรรทุก โดยแบ่งออกเป็น สตีมร้อน กับ สตีมเย็นอีก
1.1 สตีมเย็น โดยมากจะใช้กับรถจักรยาน เพราะการปะแบบนี้ จะทำให้ยางทนต่อความร้อนได้ต่ำ และรับแรงลมได้ไม่มากนัก แต่มีราคาถูกมากที่สุด เนื่องจากวิธีการปะ แบบสตีมเย็น จะใช้ยางอีกแผ่นหนึ่งมาทำหน้าที่อุดรูรั่ว โดยปกติก็จะใช้ยางในรถที่ถูกทิ้งหรือไม่ใช้งานแล้ว มาทำการประสานเข้าไปกับยางในที่มีการรั่วซึม จากนั้นรอกาวแห้ง ถึงสามารถนำไปใช้งานได้ครับ
1.2 สตีมร้อน ใช้ได้กับมอเตอร์ไซค์ ไปจนถึง รถสิบล้อ โดยจะใช้ยางปะชนิดพิเศษ ผ่านกระบวนการหลอมด้วยความร้อน จากนั้นประกบกับรอยแผล และใช้เครื่องมือในการกดเพื่อประสานแผ่นยาง กับยางรถของเราให้แนบสนิท ทิ้งไว้ซักพักก็สามารถใช้งานต่อได้ครับ
2 สอดใส้ เป็นกรรมวิธีแบบใหม่ล่าสุด โดยจะใช้วิธี
2.1. ถอนของมีคมออกจากยาง
2.2. ใช้ตะไบหางหนูแทงเข้าไปในรูเพื่อทำความสะอาด
2.3. ใช้เส้นยางผสมกับใยสังเคราะห์มาชุบลงไปบนน้ำยาที่มีส่วนผสมของยางดิบและกาวสำหรับประสาน
2.4. นำเส้นยางดังกล่าวยัดเข้าไป ด้วยเครื่องมือพิเศษ เป็นอันเสร็จสิ้นครับ
หากการ ปะยาง มีหลายวิธีขนาดนี้ ปะแบบไหนดีที่สุด???
สตีมเย็น ราคาถูกมากที่สุด แต่ทนต่อความร้อนได้ต่ำ และรับแรงดันได้น้อย จึงใช้ได้แค่ในเฉพาะจักรยานครับ ไม่สามารถใช้กับรถยนต์ได้
สตีมร้อน รอยรั่วจะมีความแน่นสนิทที่สุด ทนต่อความร้อน และรับน้ำหนักได้ดี แต่ข้อเสียของการปะแบบ สตีมร้อน หากเป็นยางที่ไม่มียางใน ความร้อนจะทำให้โครงสร้างของยางเสียหายได้ แต่หากเป็นยางแบบมียางใน อาจเกิดความเสียหายของยางรอบๆ บริเวณแผลปะที่ถูกความร้อนได้เช่นกัน ทั้งนี้ยังอาจส่งผลให้ล้อสั่นแม้จะทำการถ่วงล้อเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม หรือบางครั้งทำให้เกิดยางระเบิดขณะใช้งานขึ้นมาได้ด้วยครับ
สอดใส้ สามารถปะได้โดยไม่ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ และไม่ต้องถอดกระทะล้อออกจากรถ ใช้เวลาการปะรวดเร็ว สามารถถ่วงล้อได้ง่าย เพราะน้ำหนักของยางเปลี่ยนแปลงน้อย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่า การรับน้ำหนัก และการทนต่อความร้อนจะสู้การปะแบบสตีมร้อนไม่ได้ ซึ่งจะไม่เหมาะกับรถที่ใช้ความเร็วสูงและบรรทุกหนักครับ
Comments